เอกสารไวท์เปเปอร์

เครื่องวิเคราะห์ความชื้นด้วยหลอดฮาโลเจน เทียบกับวิธีการที่ใช้เตาอบเพื่อการทำให้แห้ง

เอกสารไวท์เปเปอร์

คำแนะนำในทางปฏิบัติสำหรับการเปรียบเทียบวิธีการต่างๆ ในอุตสาหกรรม

เครื่องวิเคราะห์ความชื้นด้วยหลอดฮาโลเจนเทียบกับเตาอบเพื่อการทำให้แห้ง
เครื่องวิเคราะห์ความชื้นด้วยหลอดฮาโลเจนเทียบกับเตาอบเพื่อการทำให้แห้ง

เอกสารไวท์เปเปอร์การเปรียบเทียบระหว่างเตาอบเพื่อการทำให้แห้งกับเครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจนเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ทุกคนที่มีส่วนในการใช้งานเพื่อวิเคราะห์ความชื้นในอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ เคมี อาหาร หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะปริมาณความชื้นจะส่งผลต่อคุณภาพ อายุการเก็บ และความสามารถในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายนานาชนิด

เอกสารไวท์เปเปอร์นี้จะอธิบายและให้แนวทางที่ใช้ได้จริงเกี่ยวกับเหตุผลที่การวิเคราะห์ความชื้นด้วยฮาโลเจนสามารถแทนที่วิธีเตาอบเพื่อการทำให้แห้งซึ่งอาศัยการวัดการสูญเสียน้ำหนักจากการทำให้แห้ง (LOD) เพื่อให้การวิเคราะห์ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ในการวัดค่าความชื้นด้วยเทคนิควัดการสูญเสียน้ำหนักจากการทำให้แห้ง คำถามที่พบบ่อยมีดังนี้

"วิธีที่ใช้เตาอบแห้งนั้นสามารถแทนที่ด้วยการวิเคราะห์ความชื้นด้วยหลอดฮาโลเจนที่รวดเร็วได้หรือไม่?"

สอบภามราคา

คำตอบง่ายๆ คือ "ได้" ตราบใดที่ผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีการทั้งสองนั้นยังเท่ากัน ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นเท่ากับภายใต้ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ที่กำหนด เราจึงไม่อาจตอบคำถามนี้อย่างแน่ชัดได้

เอกสารไวท์เปเปอร์ฉบับนี้จะให้คำแนะนำแก่นักวิเคราะห์ตลอดกระบวนการนี้ โดยจะอธิบายถึงหลักเกณฑ์สำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้วิธีการ และจะให้คำแนะนำที่ใช้ได้จริงเกี่ยวกับวิธีสาธิตว่าวิธีการที่แตกต่างกันทั้งสอง (เตาอบเพื่อการทำให้แห้งกับเครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจน) ให้ผลลัพธ์ที่เทียบเคียงกันได้

นอกจากนี้ ยังมีการสรุปวิธีการเปรียบเทียบทางเลือกซึ่งเป็นที่ยอมรับไว้ 2 วิธี โดยวิธีแรกจะอิงจากข้อกำหนดเฉพาะของกระบวนการ (ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้) และวิธีที่สองจะอิงจากการวิเคราะห์ทางสถิติของข้อมูลที่ได้รับ

 เตาอบแห้งเครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจน
หลักการการวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อนการวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน
วิธีการวัดการให้ความร้อนตัวอย่างโดยการพาความร้อน ตัวอย่างจะถูกทำให้แห้งในเตาอบเป็นระยะเวลาตามที่กำหนด ณ อุณหภูมิคงที่ จะมีการวัดค่ามวลก่อนและหลังการทำให้แห้ง อัตราร้อยละของปริมาณความชื้นจะหาได้จากผลต่างของน้ำหนักก่อนและหลังการทำให้แห้งการให้ความร้อนตัวอย่างโดยการดูดซับรังสี IR จากเครื่องกระจายรังสีฮาโลเจน การวัดมวลอย่างต่อเนื่องระหว่างกระบวนการทำให้แห้ง อัตราร้อยละของปริมาณความชื้นจะหาได้จากผลต่างของน้ำหนักก่อนและหลังการทำให้แห้ง
ข้อดี• ซึ่งมักอ้างอิงถึงขั้นตอน (กระบวนการนี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติในกฎหมายเพื่อการเก็บประวัติ)
• สามารถวัดตัวอย่างได้หลายตัวอย่างพร้อมกัน
• ตัวอย่างปริมาตรขนาดใหญ่ที่เป็นไปได้
• ตรวจวัดได้รวดเร็ว (โดยปกติจะอยู่ที่ 5 - 15 นาที)
• จัดการง่าย ไม่ต้องคำนวณ
• เครื่องมือขนาดกะทัดรัด ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องชั่งหรือเครื่องดูดความชื้น
• เหมาะสำหรับใช้งานในสายการผลิต
ข้อเสีย• ระยะเวลาในการวัดค่าที่นานมาก (ชั่วโมง) 
• สารอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำอาจระเหย 
• เสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดเนื่องจากมีการคำนวณและการจัดการในระดับสูง
• ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในสายการผลิต จำเป็นต้องมีเครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์และเครื่องดูดความชื้น
• สารอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำอาจระเหย



เนื้อหาที่เกี่ยวข้องซึ่งคัดสรรมาเพื่อคุณ