.
เลือกคำถามของคุณ
- การสอบเทียบคืออะไรและทำไมฉันควรสอบเทียบ
- อะไรเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการสอบเทียบเครื่องชั่ง
- ฉันต้องสอบเทียบเครื่องชั่งของฉันบ่อยเพียงใด
อะไรเป็นความเสี่ยงของการไม่สอบเทียบ - ช่วงความคลาดเคลื่อนใดใช้กับการสอบเทียบเครื่องชั่ง
- การสอบเทียบและการปรับตั้งค่าแตกต่างกันหรือไม่
- เครื่องชั่งของฉันเป็นเครื่องชั่งที่ใช้เพื่อการค้าได้อย่างถูกกฎหมาย ฉันยังจำเป็นต้องทำการสอบเทียบหรือไม่
- เพราะเหตุใดความไม่แน่นอนในการวัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- ฉันจะมั่นใจถึงผลการชั่งน้ำหนักที่ถูกต้องได้อย่างไร
1. การสอบเทียบเครื่องชั่งคืออะไรและเพราะเหตุใดฉันจึงควรสอบเทียบ
คำถามส่วนที่สองก่อให้เกิดอีกคำถามหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ “เหตุใดคุณจึงยังเลือกที่จะชั่งน้ำหนัก แม้ว่าเครื่องชั่งของคุณจะไม่ได้รับการสอบเทียบ” การสอบเทียบเครื่องชั่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์การชั่งน้ำหนักที่ถูกต้องแม่นยำ การไม่สนใจขั้นตอนบำรุงรักษาที่สำคัญนี้จะทำให้การตรวจวัดเป็นงานที่ทำแบบคาดเดา หรือกล่าวได้ว่าเป็นการละเลย หากชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งที่ไม่ได้รับการสอบเทียบ ความถูกต้องแม่นยำของเครื่องชั่งจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป อันเป็นผลมาจากการชำรุดและสึกหรอตามปกติที่เกิดจากการใช้งานปกติประจำวันและปัจจัยภายนอก เช่น การกระทบกระแทกของกลไกหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจนำไปสู่การสึกหรอหรือการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านไปนานๆ การกำหนดตารางเวลาสอบเทียบเครื่องชั่งเป็นระยะๆ ร่วมกับการทดสอบเป็นประจำบ่อยครั้ง ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องชั่งและเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการชั่งน้ำหนักได้มาก
ถ้าเช่นนั้น การสอบเทียบคืออะไร อธิบายอย่างง่ายได้ว่า การสอบเทียบคือการเปรียบเทียบในเชิงปริมาณ โดยการวางตุ้มน้ำหนักอ้างอิงชั่งบนจานชั่ง แล้วตรวจดูค่าที่อ่านได้จากเครื่องชั่งนั้น ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหมายถึงความแตกต่างระหว่างค่าที่วัดได้ (ค่าที่อ่านได้) กับค่าที่แท้จริง (น้ำหนักของตุ้มน้ำหนักอ้างอิงนั้น) เราจะพูดถึงคำถามที่ว่าความผิดพลาดนี้เชื่อถือได้หรือไม่ต่อไปด้านล่าง เมื่อสิ้นสุดการสอบเทียบเครื่องชั่ง จะมีการสร้างใบรับรองขึ้นเพื่อรายงานค่าที่อ่านได้ของเครื่องชั่งและเปรียบเทียบค่านั้นกับค่าอ้างอิง ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ที่ใช้จะแสดงผลว่าผ่าน/ไม่ผ่านในใบรับรอง
2. ประโยชน์ที่ได้รับจากการสอบเทียบเครื่องชั่งมีอะไรบ้าง
การสอบเทียบซึ่งดำเนินการโดยผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรอง ให้ประโยชน์ดังนี้
- ประหยัดต้นทุน อุปกรณ์ที่สอบเทียบแล้วช่วยให้สามารถดำเนินการตัดสินใจได้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสูญเสีย การทำงานซ้ำ หรือการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
- การตรวจวัดที่ไว้วางใจได้ การใช้งานอุปกรณ์ที่สอบเทียบแล้ว ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการตรวจวัดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะสอดคล้องในทางเดียวกับการตรวจวัดที่เกิดขึ้นในครั้งอื่น ผลลัพธ์จากเครื่องชั่งใดๆ ในกระบวนการจะถูกต้องและเชื่อถือได้ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย
- การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ การสอบเทียบช่วยให้ผ่านการตรวจสอบจากภายในและภายนอกได้ดียิ่งขึ้น
- การตรวจพบอุปกรณ์ที่หมดอายุใช้งาน อุปกรณ์ทุกชิ้นมีอายุใช้งานลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และชิ้นส่วนสำคัญอาจมีความเค้นเชิงกลหรือการชำรุดสึกหรอ แม้ไม่อาจขจัดความเบี่ยงเบนของค่าได้ทุกครั้ง แต่เราจะสามารถตรวจพบได้เมื่อใช้การสอบเทียบเป็นระยะๆ
- การปรับปรุงกระบวนการและการเพิ่มผลกำไร การแปลความหมายผลลัพธ์การสอบเทียบตามระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ที่กำหนด ช่วยปรับปรุงกระบวนการและนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในท้ายที่สุด
3. ฉันต้องสอบเทียบเครื่องชั่งของฉันบ่อยเพียงใดและหากไม่สอบเทียบจะก่อให้เกิดความเสี่ยงอะไรบ้าง
ใบรับรองการสอบเทียบจะรายงานผลลัพธ์ในเวลาที่ทำการสอบเทียบนั้น ในหลายๆ กรณี ผู้รับผิดชอบมักคิดไปเองว่าการสอบเทียบนั้นมีผลใช้ได้เป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาดว่าการสอบเทียบทุกหนึ่งปีก็เพียงพอแล้ว
ทางที่ดีที่สุดคือ ควรกำหนดช่วงการสอบเทียบโดยพิจารณาจากวิธีการที่อ้างอิงตามความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น ความเป็นไปได้ของการเกิดบางสิ่งผิดปกติเป็นอย่างไร และผลกระทบนั้นสูงเพียงใด ผลกระทบสูงและความเป็นไปได้สูงหมายถึงความเสี่ยงที่สูงและต้องการช่วงการสอบเทียบที่สั้นลง ในอีกด้านหนึ่งก็คือ ผลกระทบต่ำและความเป็นไปได้ต่ำย่อมหมายถึงมีความเสี่ยงต่ำและอาจยืดช่วงการสอบเทียบออกไปได้
การเพิกเฉยไม่ยอมสอบเทียบถือว่ามีความเสี่ยงสูงอย่างยิ่ง ต้นทุนและความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่อันเกิดจากเครื่องชั่งที่ไม่ได้รับการสอบเทียบ อาจสูงกว่าต้นทุนในการสอบเทียบนั้นเอง การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการสอบเทียบอาจนำไปสู่ปัญหาในการผลิต เช่น
- เวลาหยุดทำงานที่ไม่ตรงตามตารางเวลา
- คุณภาพสินค้าที่ต่ำกว่า
- ปัญหาของกระบวนการและการตรวจสอบ
- การทำงานซ้ำและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอาจก่อให้เกิดค่าเบี่ยงเบนที่ตรวจสอบไม่พบหรือความผิดพลาดแบบสุ่มที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงเช่นกัน การกำหนดตารางเวลาสอบเทียบเป็นระยะๆ พร้อมด้วยการทดสอบเป็นประจำ (ดูด้านล่าง) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการสอบเทียบ
4. ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ใดที่ใช้กับการสอบเทียบเครื่องชั่ง
ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้กำหนดว่าเครื่องชั่ง "ดีเพียงพอ" ตามข้อกำหนดเฉพาะของกระบวนการหรือไม่ ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้เป็นตัวกำหนดเกณฑ์ในการแจ้งว่าเครื่องชั่งนั้นผ่าน/ไม่ผ่าน ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้อาจมาจากแหล่งที่หลากหลาย รวมถึงหน่วยงานกฎหมาย อุตสาหกรรมการผลิต และกระบวนการนั้นเอง
| |||||||
ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ตามกฎหมายช่วยปกป้องผู้บริโภค แต่ไม่ได้พิจารณาถึงข้อกำหนดเฉพาะของผู้ผลิต การปรับปรุงระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ในกระบวนการที่ใช้กับอุปกรณ์วัดค่า มีผลกระทบอย่างมากกับความสามารถทำกำไรของกระบวนการ
5. การสอบเทียบและการปรับตั้งค่า มีความแตกต่างกันหรือไม่
แตกต่างกัน สองคำนี้มีความสำคัญแตกต่างกัน โชคร้ายที่มักมีความสับสนระหว่างคำว่า “การสอบเทียบ” และ “การปรับตั้งค่า”
การสอบเทียบ
สำนักงานชั่ง ตวง วัด ระหว่างประเทศ (International Bureau of Weights and Measures - BIPM) และคณะทำงานสำหรับแนวทางมาตรวิทยา (Joint Committee for Guides in Metrology - JCGM) ได้สร้างเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในการช่วยสร้างมาตรฐานของคำศัพท์ในแวดวงการชั่งน้ำหนักที่เรียกว่า คำศัพท์ด้านมาตรวิทยาสากล (International Vocabulary of Metrology - VIM) โดยในข้อ 2.39 ได้กำหนดนิยามการสอบเทียบในแง่มุมของวิธีการทำงานของเครื่องชั่งไว้ดังนี้
“การปฏิบัติการภายใต้เงื่อนไขจำเพาะ ในขั้นแรกเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริมาณกับความไม่แน่นอนของการตรวจวัดที่ได้จากมาตรฐานการตรวจวัดและตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนของการตรวจวัด และในขั้นที่สอง ใช้ข้อมูลนี้สร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ได้ผลการตรวจวัดจากตัวบ่งชี้”
กล่าวได้ว่า เครื่องชั่งได้รับการสอบเทียบเพื่อทำความเข้าใจและทำเอกสารแสดงวิธีการที่เครื่องนั้นทำงาน คำนิยามข้างต้นยังระบุอย่างชัดเจนว่า การได้รับความไม่แน่นอนของการตรวจวัดเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการสอบเทียบ การสอบเทียบเครื่องชั่งโดยไม่มีใบรายงานความไม่แน่นอนของการตรวจวัดถือว่าไม่สมบูรณ์ และจะเป็นการตรวจสอบเฉพาะจุดเท่านั้น
การปรับตั้งค่า
ขณะที่การสอบเทียบเป็นการบ่งบอกว่าเครื่องชั่งทำงานอย่างไร การปรับตั้งค่าอุปกรณ์เป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานของอุปกรณ์ VIM ได้นิยามการปรับตั้งค่าไว้ดังนี้
“ชุดอุปกรณ์ปฏิบัติการที่ดำเนินการบนระบบตรวจวัด เพื่อให้ระบบนั้นแสดงตัวบ่งชี้ตามที่กำหนดโดยสัมพันธ์กับค่าที่ระบุของปริมาณที่ต้องการตรวจวัด”
ดังนั้น การปรับตั้งค่าเครื่องชั่งหมายถึง การแก้ไขตัวบ่งชี้ของเครื่องในรูปแบบที่ช่วยให้เครื่องสอดคล้องกับค่าปริมาณของมาตรฐานการตรวจวัดที่ใช้โดยมากที่สุด
6. เครื่องชั่งของฉันเป็นเครื่องชั่งที่ใช้เพื่อการค้าได้อย่างถูกกฎหมาย ฉันยังจำเป็นต้องทำการสอบเทียบหรือไม่
เป้าหมายของมาตรวิทยาตามกฎหมายคือ ช่วยดูแลให้เกิดการค้าที่เป็นธรรมและปกป้องผู้บริโภค เมื่อเครื่องชั่งนั้นใช้เพื่อการค้าได้อย่างถูกกฎหมายหรือได้รับการควบคุมตามกฎหมาย ต้องมีการติดตั้ง ตรวจสอบ และปิดผนึกให้สอดคล้องตามข้อกำหนดการชั่ง ตวง วัด ในท้องถิ่น
สำหรับการประเมินผลการทดสอบและการใช้เกณฑ์พิจารณาผ่าน/ไม่ผ่าน ต้องอ้างอิงตามมาตรฐานทางกฎหมาย เช่น OIML หรือ Handbook 44 มาตรฐานเหล่านี้ยินยอมให้มีระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ที่ค่อนข้างกว้าง ซึ่งหมายความว่ามีความเสี่ยงในการโยนวัตถุดิบทิ้งค่อนข้างสูง คุณสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการให้ช่างเทคนิคบริการที่ได้รับการรับรองทำการสอบเทียบเครื่องชั่งของคุณและโดยการใช้ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้เฉพาะของกระบวนการคุณเอง กล่าวโดยสรุปคือ คุณไม่ได้ถูกกฎหมายบังคับให้ต้องสอบเทียบ หากแต่คุณสอบเทียบเพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับตัวคุณเอง ประโยชน์ที่ได้รับจากวิธีการนี้คือ
- คุณปรับปรุงกระบวนการชั่งน้ำหนักของคุณให้ดีขึ้น และยังคงสอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรวิทยาตามกฎหมาย
- คุณจะสร้างผลกำไรสูงขึ้นเมื่อลดการสูญเสียวัตถุดิบทิ้งเปล่า
7. เพราะเหตุใดความไม่แน่นอนของการตรวจวัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ความจริงที่น่ากลัวคือ การสอบเทียบเครื่องชั่งโดยไม่มีความไม่แน่นอนของการตรวจวัดเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์อย่างสิ้นเชิง ความไม่แน่นอนของการตรวจวัดคือส่วนสำคัญในทุกๆ การสอบเทียบ ซึ่งเป็นข้อสงสัยเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการตรวจวัด หากไม่ได้รายงานไว้ในใบรับรอง จะถือว่าการสอบเทียบนั้นไม่สมบูรณ์
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนของการตรวจวัดอาจมาจากตัวเครื่องชั่งเอง จากตุ้มน้ำหนักอ้างอิงที่ใช้ในการสอบเทียบ จากสภาพแวดล้อม จากผู้ปฏิบัติงาน หรือจากแหล่งอื่นๆ คู่มือการสอบเทียบ EURAMET cg-18 เป็นเอกสารอ้างอิงที่ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งให้รายละเอียดทางมาตรวิทยาของการได้รับความไม่แน่นอนของการตรวจวัดของอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักที่ไม่เป็นอัตโนมัติ
8. ฉันจะมั่นใจถึงผลการชั่งน้ำหนักที่ถูกต้องแม่นยำได้อย่างไร
ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำคือผลสรุปของการดำเนินการบริการสำคัญหลายๆ ประการและเกิดขึ้นได้ใน 3 ขั้นตอนง่ายๆ การทดสอบเป็นประจำ นอกเหนือจากการสอบเทียบ ช่วยเพิ่มความถูกต้องแม่นยำของเครื่องชั่งอย่างยั่งยืน โดยช่างเทคนิคบริการที่ได้รับการรับรองจะเป็นผู้ดำเนินการสอบเทียบและผู้ใช้เครื่องมือจะเป็นผู้ดำเนินการทดสอบเป็นประจำ การทดสอบเป็นประจำยังช่วยให้แน่ใจว่าจะมีการตรวจพบความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดของกระบวนการชั่งน้ำหนักที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากดำเนินการทดสอบบ่อยเพียงพอ จะสามารถตรวจพบสถานะที่ไม่อยู่ในระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ก่อนเกิดความเสียหายได้
ภาพต่อไปนี้แสดงการติดตั้งและการสอบเทียบเครื่องชั่งเป็นระยะๆ ที่ดำเนินการโดยช่างเทคนิคที่ได้รับการรับรอง โดยผู้ใช้สามารถตรวจสอบเครื่องชั่งได้บ่อยครั้งกว่านั้น
9. เพราะเหตุใดการใช้เครื่องมือที่ไม่ได้รับการสอบเทียบจึงทำให้เกิดความเสี่ยง
เครื่องชั่งที่ได้รับการสอบเทียบอย่างถูกต้องช่วยให้มีผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำและลดโอกาสในการทำงานผิดพลาดของเครื่องชั่งซึ่งทำให้เสียเวลาและเงินมากขึ้น พูดได้เต็มปากเลยว่า การสอบเทียบเป็นการลงทุนที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการสอบเทียบอาจนำไปสู่ปัญหาในการผลิต เช่น
- เวลาหยุดทำงานที่ไม่ตรงตามตารางเวลา
- คุณภาพสินค้าที่ต่ำกว่า
- ปัญหาของกระบวนการและการตรวจสอบ
- การทำงานซ้ำและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอาจก่อให้เกิดค่าเบี่ยงเบนที่ตรวจสอบไม่พบหรือความผิดพลาดแบบสุ่มที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงเช่นกัน การกำหนดตารางเวลาสอบเทียบเป็นระยะๆ พร้อมด้วยการทดสอบเป็นประจำ (ดูด้านล่าง) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการสอบเทียบ
10. เพราะเหตุใด METTLER TOLEDO จึงเป็นพันธมิตรด้านการสอบเทียบที่เหมาะสม
ลูกค้าทั่วทุกมุมโลกเชื่อถือในโซลูชันและความสามารถของเรา
เชื่อถือในความเชี่ยวชาญทางเทคนิคของเรา
ช่างเทคนิคทุกคนได้รับการอบรมจากโรงงานอย่างสม่ำเสมอ และหลักสูตร eLearning ช่วยให้พวกเขายังคงสถานะช่างเทคนิคที่ได้รับการรับรอง การสอบเทียบดำเนินการโดยช่างเทคนิคเหล่านี้โดยสอดคล้องตาม SOP ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซอฟต์แวร์การสอบเทียบ MiraCalTM ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเราช่วยรับรองว่าการทดสอบทั้งหมดเป็นรูปแบบเดียวกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับช่างเทคนิคหรือสถานที่ ขั้นตอนการทำงานสอบเทียบที่มีซอฟต์แวร์แนะนำช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการและประหยัดต้นทุน ซึ่งหมายความว่าเป็นผลดีต่อลูกค้าในการกำหนดราคาแข่งขัน
เชื่อถือในเครือข่ายบริการทั่วโลกของเรา
เรามีหน่วยงานบริการทั่วโลกในอุตสาหกรรมชั่งน้ำหนัก ความครอบคลุมตามพื้นที่ทั่วโลกนี้ช่วยให้เราสามารถให้การสนับสนุนแก่ลูกค้าของเราได้ทันทีและเหมาะสม
เชื่อถือในความสามารถด้านนวัตกรรมของเรา
โซลูชันการสอบเทียบที่เป็นนวัตกรรมของเรามุ่งปรับปรุงกระบวนการทำงานของลูกค้า การสอบเทียบของเรามุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการชั่งน้ำหนัก เพื่อสร้างกำไรส่วนเพิ่มให้กับลูกค้า โดยไม่ได้ความสำคัญแค่เพียงทำได้ตามมาตรฐานของอุตสาหกรรม
11. วิธีที่ถูกต้องในการจัดการกับน้ำหนักทดสอบมีอะไรบ้าง
ตุ้มน้ำหนักเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานบ่อยที่สุดและมีความสำคัญที่สุดสำหรับการทดสอบเครื่องชั่ง การดำเนินการที่ช่วยรักษาความถูกต้องและความสะอาดของตุ้มน้ำหนักมีดังนี้
- จัดเก็บตุ้มน้ำหนักไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม
- จัดเก็บตุ้มน้ำหนักไว้ใกล้กับเครื่องชั่ง
- ใช้งานด้วยความระมัดระวัง
- ทำความสะอาดตามคำแนะนำของ OIML/ASTM
- ใช้ที่จับพิเศษสำหรับตุ้มน้ำหนักขนาดใหญ่
- ตรวจดูความเสียหายก่อนใช้งาน
เคล็ดลับนี้จะช่วยคุณป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการชั่งน้ำหนักที่ผิดพลาดและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานซ้ำ การกำจัดของเสีย และการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
12. จำเป็นต้องมีการทดสอบเป็นประจำในระหว่างช่วงการสอบเทียบหรือไม่
จำเป็น คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องชั่งได้จากการทดสอบเป็นประจำ และช่วยรับรองได้ว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะมีคุณภาพที่สม่ำเสมอ โดยช่างเทคนิคบริการที่ได้รับการรับรองจะเป็นผู้ดำเนินการสอบเทียบและผู้ใช้เครื่องมือจะเป็นผู้ดำเนินการทดสอบเป็นประจำ การทดสอบเป็นประจำยังช่วยให้แน่ใจว่าจะมีการตรวจพบความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดของกระบวนการชั่งน้ำหนักที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และหากดำเนินการทดสอบบ่อยเพียงพอ จะสามารถตรวจพบสถานะที่ไม่อยู่ในระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ก่อนเกิดความเสียหายได้