การไทเทรตเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่นิยมใช้กันทั่วไป โดยสามารถใช้การไทเทรตเพื่อการวิเคราะห์และการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในหลายอุตสาหกรรม อย่างเช่น ยาและเวชภัณฑ์ ปิโตรเคมี อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งสามารถระบุพารามิเตอร์ที่หลากหลายได้ ยกตัวอย่างเช่น ความเป็นกรด ความเป็นด่าง ไอออนโลหะ และสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม สำหรับการวัดปริมาณน้ำ จะใช้การไทเทรตประเภทพิเศษ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า การไทเทรตแบบ Karl Fischer
การไทเทรตเป็นการวัดปริมาณสารที่เฉพาะเจาะจง (สารที่ต้องการวิเคราะห์) ที่มีอยู่ในตัวอย่าง โดยการเพิ่มตัวทำปฏิกิริยาที่มีการควบคุม (ไทแทรนต์) ซึ่งทราบความเข้มข้นตามการทำปฏิกิริยาเคมีโดยสมบูรณ์ระหว่างสารและตัวทำปฏิกิริยา โดยมีการเติมไทแทรนต์จนกว่าการทำปฏิกิริยาจะสมบูรณ์ (จุดสมมูล)
วิธีการแบบดั้งเดิมในการเฝ้าติดตามการทำปฏิกิริยาการไทเทรตคือ การเติมสารบ่งชี้ที่เหมาะสมลงในสารที่ต้องการวิเคราะห์ซึ่งจะเปลี่ยนสีเมื่อการทำปฏิกิริยาเคมีสมบูรณ์ (จุดสิ้นสุดการไทเทรต) ในปัจุบัน สามารถเฝ้าติดตามการทำปฏิกิริยาเคมีและจุดสิ้นสุด โดยการใช้เซ็นเซอร์
เพราะเหตุใดการชั่งน้ำหนักที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
การคำนวณหาปริมาณสารที่ต้องการวิเคราะห์สามารถทำได้ โดยดูจากการใช้ไทแทรนต์และความเข้มข้นของไทแทรนต์ รวมถึงน้ำหนักของตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ การชั่งน้ำหนักสารที่ใช้เตรียมสารละลายไทแทรนต์และสารละลายตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์อย่างถูกต้องมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพียงแค่มีการเตรียมตัวอย่างที่ถูกต้อง คุณก็สามารถมั่นใจได้ถึงผลการไทเทรตที่ถูกต้องได้